องค์กรของท่านปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง?
ท่านมีระบบ INTERNAL CONTROL ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างเข้มแข้งหรือไม่
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับต่างๆ นอกจากจะเป็นกฎหมายที่มีจุดเด่นในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของอาชญากรหรือผู้กระทำความผิดมูลฐานกว่า 29 มูลฐานแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพ 10 กลุ่มธุรกิจ ต้องมีมาตรการในการจัดให้ลูกค้าแสดงตน มาตรการบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงภายในองค์กร มาตรการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า มาตรการในการบริหารความเสี่ยงผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงมาตรการในการ “ควบคุมภายใน” องค์กร
กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2563 ข้อ 49 วรรค 2 กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องมี “กลไกในการตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระ” ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินภายในองค์กร ประกอบกับ ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง การกําหนดและดําเนินการตามนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 พ.ศ. 2564 กำหนดให้ต้องมีส่วนงานหรือพนักงานหรือผู้ตรวจสอบจากภายนอก รับผิดชอบในการตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระจากการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงภายในองค์กร เพื่อตรวจสอบการดําเนินงานและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงโดยเพื่อให้เกิดความเป็นอิสระในการตรวจสอบ เราจึงขอนำเสนอบริการ การดำเนินการควบคุมภายใน (ตรวจสอบ) ด้าน ด้าน AML/CTPF สำหรับองค์กรท่าน โดยจัดทำ “รายงานผลการตรวจสอบภายในด้าน AML/CTPF” เสนอต่อผู้บริหารขององค์กรท่าน เพื่อสอดคล้องกับประกาศสำนักงาน ปปง. ดังกล่าว
*AML/CTPF = Anti-Money Laundering/Counter-Terrorism and Proliferation of Weapon of Mass Destruction Financing การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตนก่อนหรือขณะทำธุรกรรม
สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้อง “ตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าทุกรายจนกว่าจะยุติความสัมพันธ์”
ดังที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินสำหรับภาคธุรกิจที่กฎหมายกำหนดนั้น มีขั้นตอนการปฏิบัติและกระบวนการที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบุคลากรหลายส่วนงาน การกำกับตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินภายในองค์กร จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและความเข้าใจในวิธีปฏิบัติ รวมถึงเข้าใจบทบาทของบุคลากรในแต่ละระดับตั้งแต่ BUSINESS UNITS ซึ่งเป็น First Line of Defense จนถึงระดับ INTERNAL AUDIT ซึ่งเป็น Third Line of Defense
บริษัทซึ่งมีทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาในการปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินมากว่า 20 ปี จึงขอเสนอบริการ OUTSOURCING AML/CTF/FP INTERNAL CONTROL สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เป็น “ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม” เพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินในการ “ควบคุมภายในด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง” สอดคล้องกับประกาศสำนักงาน ปปง. เรื่อง การกำหนดและดำเนินการตามนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายในของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 พ.ศ. 2564